วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

องค์การ กับ องค์กร ต่างกันยังไง....?

ปัญหาเรื่องการใช้ภาษาไทยในทุกวันนี้ ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นเป็นลำดับ และคำหนึ่งคำที่มักจะมีการสับสนในการใช้อยู่บ่อย ๆ คือ คำว่า องค์กร กับ องค์การ เอ้แล้วตกลงเราควรจะใช้คำว่าอะไรกันแน่นะ ในเมื่อทั้ง 2 คำนี้ก็มีการเขียนที่คล้าย ๆ กัน แต่ว่าความหมายจะเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรนั้น เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าคะ
บทความนี้เป็นบทความที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาพฤติกรรมองค์การ โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับคำว่า องค์กร  ” กับ องค์การ เนื่องจากหลายคนยังคงมีความสงสัยเกี่ยว 2 คำนี้อยู่ ว่าจริง ๆ แล้วเราควรจะเรียกว่า พฤติกรรมองค์การ หรือ พฤติกรรมองค์กร กันแน่ ดังนั้น ก่อนอื่นเรามาทราบความหมายของคำว่า องค์การ กับ องค์กร กันก่อนดีกว่าคะ
องค์การ กับ องค์กร มีความหมายที่แตกต่างกัน ความหมายขององค์กรตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.. 2542 กล่าวไว้ว่า องค์กร เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับภาษาอังกฤษว่า Organ มีความหมายตามพจนานุกรม คือ บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา แต่ในบางกรณี องค์กรก็หมายความรวมถึงองค์การด้วย ส่วนองค์การ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Organization มีความหมาย คือ เป็นศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือตราสารจัดตั้ง ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ  พูดง่าย ๆ ก็คือ องค์การ เป็นระบบของกลุ่มกิจกรรมที่มีการประสานงานระหว่างกันหรือการรวมกลุ่มของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ชีวิตประจำวันของเราในทุกวันนี้ ต้องมีเรื่องให้เกี่ยวข้องกับองค์การอยู่เสมอ โดยเฉพาะในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานบริษัท งานข้าราชการ หรืองานโรงงานต่าง ๆ  ก็ล้วนแต่เป็นองค์การทั้งสิ้น และเมื่อมีองค์การก็ต้องมีคนมาทำงานและมีการอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะทำงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง โดยที่บุคคลเหล่านั้นก็ต้องแสดง
พฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา มีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการพบปะพูดคุย มีการโต้เถียง รวมถึงมีการขัดแย้งกันบ้างตามประสาคนหมู่มาก โดยพฤติกรรมเหล่านี้ก็มีทั้งในด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่า พฤติกรรมองค์การ ก็คือ การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่ในองค์การนั้น ๆ ด้วยความที่องค์การประกอบไปด้วยคนจำนวนมากมาอยู่รวมกัน โดยแต่ละคนก็มีพื้นฐานที่มาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นนิสัยใจคอ ทัศนคติต่าง ๆ เราจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาว่าจะทำอย่างไร ให้บุคคลที่มีความแตกต่างกันมากมายเหล่านั้นจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา หรือให้มีปัญหาให้น้อยที่สุด
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ถ้าหากมีเพียงบุคคลต่าง ๆ มารวมกลุ่มกันก็ยังไม่ถึงว่าเป็น องค์กรองค์กรจะต้องเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ และมีหน้าที่เฉพาะที่เป็นของตน และองค์การก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องเอาองค์กรต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันมารวมเข้าด้วยกัน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่าง ๆ ให้ทำหน้าที่ประสานกันอย่างเป็นระบบ คล้าย ๆ กับเครื่องจักรที่มีชิ้นส่วนหลาย ๆ ชิ้นมาประกอบกัน และแต่ละชิ้นก็มีหน้าที่ต่างกัน ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นก็เปรียบเสมือนองค์กร เมื่อนำเอาชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาประกอบกัน และทำให้มันทำงานได้อย่างมีระบบระเบียบ ก็จะกลายเป็นองค์การเพราะฉะนั้นถ้าหากต้องการพูดหรือเขียนข้อความที่ให้ความหมายถึงบริษัท ก็ควรจะใช้คำว่าองค์การตามความหมายที่บอกไว้ในพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.. 2542 นะคะ